การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านไร่จังหวัดอุทัยธานี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในอำเภอบ้านจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๓๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different: LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key.Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๗๐ , S.D. = ๐.๔๖๗) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒) เปรียบเทียบ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อาชีพและรายได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ไม่แตกต่างกัน
๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ด้านหลักนิติธรรม การบริหารงานควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบังคับต่างๆ ด้านคุณธรรม การบริหารงานต้องคำนึงถึงสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ด้านหลักความโปร่งใส ผู้บริหารและคณะกรรมการต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ติดตามและตรวจสอบกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน ด้านหลักการมีส่วนร่วม การบริหารการพัฒนารูปแบบควรเปิดโอกาสให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ครบทุกขั้นตอน ด้านหลักความรับผิดชอบ การบริหารต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มสมาชิก ส่วนด้านหลักความคุ้มค่า ควรใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
|