หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวสุนทรี สุริยะรังษี
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาศึกษาเฉพาะกรณีอุบาสิกาผู้ได้รับเอตทัตคะ(๒๕๔๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสุนทรี สุริยะรังษี ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาเทียบ สิริญาโณ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาบทบาทของคฤหัสถ์ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา
เฉพาะอุบาสิกาที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นเลิศ ๑๐ คน
 
       พระพุทธศาสนาถือว่า สังคมประกอบด้วยมนุษย์ที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญา ในระดับต่างๆ กัน ในสังคมใหญ่ยังมีสังคมย่อยหรือชุมชนต่างๆ ซ้อนอยู่ภายใน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สมัครเข้าไปดำรงชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน เช่น มีสังคมสงฆ์กับสังคมคฤหัสถ์ ชีวิตในสังคมสงฆ์ เน้นด้านจิตปัญญามีวินัยเป็นวิถีชีวิตพาไปยังจุดหมายแห่งชีวิต ชีวิตในสังคมคฤหัสถ์เป็นความสัมพันธ์ททางสังคมและการหาเลี้ยงชีพ ซึ่งต่างกับสังคมสงฆ์
        อุบาสิกาทั้ง ๑๐ คน มีคุณสมบัติของอริยชน คือ
        ศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นกัลยาณมิตร ผู้ทรงยืนยันศักยภาพของมนุษย์ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาตนเอง และหยั่งรู้สัจธรรมเข้าถึงความจริงสูงสุดได้ด้วยสติปัญญาและความเพียรของตนเอง

        ศีล มีระเบียบความประพฤติส่วนตัวและที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ทางกายวาจาตลอดถึงการทำงานมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งมีลักษณะปิดกั้นโอกาสทำชั่ว และส่งเสริมโอกาส ทำความดี

        สุดะ สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียน สุตะของอริยชนคือความรู้ที่จำเป็นแก่
        อุบาสิกา ๑๐ คน มีความขยันทำการงานเลี้ยงชีพ ได้ทรัพย์โดยสุจริต ใช้จ่ายอย่างเผื่อแผ่ รับผิดชอบต่อชีวิตผู้อื่น โดยใช้ทรัพย์ทำประโยชน์จนเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องในพระพุทธศาสนามีปัญหาพอที่จะทำทานให้รอดพ้น  ไม่ตกเป็นทาสของทรัพย์สมบัติและโลกามิสอื่น ๆที่เข้าเกี่ยวข้องกับคน เป็นอยู่ด้วยจิตเบิกบานมีทุกข์บางเบา นับว่าเป็นผู้ประเสริฐ เรียกว่า  พระโสตาบัน

Download : 254414.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕