หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ยลรดณ คุ้มภัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ยลรดณ คุ้มภัย ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๙๗ คน ซึ่งได้จากสูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square test)   และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า
๑) ระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๑๖) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผู้สมัครเป็นคนท้องถิ่น ( = ๓.๙๑) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของผู้สมัคร ( = ๒.๒๓)
๒) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ 
๓) แนวทางส่งเสริม การตัดสินใจเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า รัฐควรออกกฎหมายมารับรองในการแสดงทรัพย์สินของผู้สมัครทั้งก่อนและหลังดำรงตำแหน่ง ต้องออกกฎหมายกำหนดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาของผู้สมัครเพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาดำรงตำแหน่งหน้าที่ รัฐควรส่งเสริมให้ผู้สมัครกำหนดนโยบายโดยให้ความสำคัญกับท้องถิ่นในทุกๆ ด้าน และจะต้องให้ความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การอบรมตามหลักสูตร การจัดสัมมนา เป็นต้น 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕