การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามตัวชี้วัดและเกณฑ์สำหรับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช แนวทางแก้ไขเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไปเป็นประชาชนในการศึกษา โดยเลือกประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๓๖๐ คน จากจำนวนประชากร ๓,๖๒๙ คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๒๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านรับฟังข่าวสาร ( = ๓.๕๙) ด้านติดตามการหาเสียง ( = ๓.๒๙ ) และด้านติดต่อนักการเมืองและแสดงความคิดเห็น ( = ๒.๘๙ )
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ,อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ และสถานภาพ พบว่า ตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนบุคลากรที่มี เพศ ,อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ และสถานภาพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราชไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ด้านรับฟังข่าวสาร ประชาชนส่วนมากไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารมากเท่าที่ควร และไม่ทั่วถึง น้อยมากที่จะมีการประชาสัมพันธ์ และช้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว โดยมานำเสนอทีหลังไม่ทันต่อเหตุการณ์ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจในสิ่งที่นักการเมืองนำเสนอ ด้านติดตามการหาเสียง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ติดตามการหาเสียงของนักการเมือง เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ของนักการเมืองท้องถิ่นไม่ค่อยครอบคลุมพื้นที่ในเขตชุมชนมากเท่าไร นานๆจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง ด้านติดต่อนักการเมืองและแสดงความคิดเห็น นักการเมืองไม่ค่อยให้ความสำคัญกับประชาชน ทำให้การติดต่อเป็นไปได้ยาก ไม่มีโอกาสได้ติดต่อ พบปะ เพื่อแสดงความคิดเห็นและไม่สามารถเข้าถึงนักการเมือง ส่วนด้านข้อเสนอแนะ นักการเมืองควรพัฒนารูปแบบในการประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ให้มีความครอบคลุมทั่วถึง และทันสมัย สามารถเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่ของแหล่งชุมชน
|