การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางจำนวน ๑๘๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๗๘วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(t-test) การทดสอบค่าเอฟ(F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) และการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-Depth Interview)กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant)และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๔๘)เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางอยู่ในระดับปานกลางและมาก โดยสามารถเรียงลำดับความคิดเห็นของบุคลากรจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความคิดเห็นด้านการประเมินผล( = ๓.๕๒)ด้านการนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ( = ๓.๔๗)ด้านการกำหนด( =๓.๔๖)
๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า
ด้านการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร องค์การจึงควรจัดงบประมาณในด้านนี้โดยเฉพาะและสรรหาบุคลากรที่มีความรู้และมีความชำนาญด้านการวางแผนยุทธศาสตร์มาวิเคราะห์กำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการนำยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลยังมีปัญหาในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะยังขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติหน่วยงานควรสรรหาบุคลากรทีมีความชำนาญในด้านยุทธศาสตร์ มาอยู่กับองค์การ เพื่อให้การนำยุทธศาสตร์ขององค์การไปปฏิบัติไม่เกิดปัญหาและมีคุณภาพ
ด้านการประเมินยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลยังขาดการติดตามประเมินผลงานที่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่สามารถทราบปัญหาอุปสรรค์ที่แท้จริงในเชิงปฏิบัติได้ ดังนั้นหน่วยงานควรมีการประเมินผลยุทธศาสตร์ที่นำไปใช้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ ตามสภาพความเป็นจริงขององค์การ
๔) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปางสามารถสรุปได้ดังนี้ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เริ่มตั้งแต่มีการกำหนดให้มีกระบวนการสรรหาบุคลากรเพื่อที่จะเข้ามาบรรจุให้ปฏิบัติหน้าที่ในองค์การตามกรอบอัตรากำลังของแต่ละหน่วยงาน มีการนำบุคลากรที่ได้มานั้นไปสู่การพัฒนา ทั้งจัดให้มีการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ทั้งยังส่งเสริมให้มีการศึกษาในระดับสูงขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้เฉพาะด้านในตำแหน่งหน้าที่ และมีการติดตามและประเมินผลโดยการให้บุคลากรที่พัฒนาองค์ความรู้แล้ว ต้องมีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น และมีแนวทางในการรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถแล้วให้อยู่กับองค์การโดยการให้เลื่อนตำแหน่ง หรือปรับขึ้นเงินเดือน เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ให้ความสำคัญคือ การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในหน่วยงาน ทั้งในด้านการให้บุคลากรเข้าไปอบรมคุณธรรม จริยธรรม และส่งเสริมให้ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ยังได้ใช้กระบวนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ พัฒนาตนเป็นเคารพต่อ กฎ ระเบียบ ของหน่วยงาน เคารพต่อกฎระเบียบของชุมชน สังคม ประเทศชาติ เป็นการพัฒนาตนตามกระบวนการของศีล มีสมาธิในการปฏิบัติงานรับใช้พี่น้องประชาชนในงานที่รับผิดชอบ สามารถนำงานสำเร็จตามเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพัฒนาตนเองตามกระบวนการของสมาธิ มีปัญหาสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือที่เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เป็นการพัฒนาตนเองตามกระบวนการของปัญญา เมื่อบุคลากรขององค์การได้พัฒนาตามกรอบ ไตรสิกขาแล้วก็จะเป็นบุคลากรที่พร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจในการทำงานรับใช้ประชาชน และพร้อมพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
|