การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค ตามความคิดเห็นของพระธรรมจาริก ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาคการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงผสม (Mixed Research method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค จำนวน ๑๘๓ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) พระธรรมจาริกมีความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๑๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร ( =๓.๒๕) ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ( =๓.๑๙) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ( =๓.๑๓) และด้านการธำรงรักษาบุคลากร ( =๓.๐๐)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระธรรมจาริกต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระธรรมจาริกที่มี อายุ พรรษา ระดับการศึกษาเปรียญธรรมและอายุการปฏิบัติงานในโครงการพระธรรมจาริกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนพระธรรมจาริกที่มีระดับการศึกษาสามัญ ระดับการศึกษานักธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน
๓) ปัญหาอุปสรรคและวิธีแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมมจาริกส่วนภูมิภาค
ด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร พบว่า งบประมาณในการสรรหาและคัดเลือกตลอดถึงการดำเนินด้านอื่นเกี่ยวกับบุคลากรไม่เพียงพอ มีผู้มาสมัครน้อย ศักยภาพ คุณสมบัติและความรู้พื้นฐานของผู้สมัคร ไม่สอดคล้องกับระเบียบที่กำหนดไว้ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์มากขึ้น จัดการศึกษา ส่งเสริมให้บุคลากรได้ศึกษาในระดับที่สูงและเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการด้านต่างๆ
ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร พบว่า ขาดงบประมาณ ขาดความต่อเนื่องในการจัดฝึกอบรม ไม่มีความสะดวกในการคมนาคม สถานที่ และวิทยากร หลักสูตรฝึกอบรมไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและการฝึกอบรมไม่ครอบคลุมหรือทั่วถึงกับบุคลากรทุกคน การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการติดต่อประสานงาน ทำความเข้าใจกับบุคลากร จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาโดยการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ
ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ไม่มีคณะกรรมการดำเนินการประเมินที่ชัดเจนและบุคลากรไม่ส่งรายงานผลการปฏิบัติงาน วิธีแก้ไขปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการกำชับหัวหน้าศูนย์ให้ติดตาม กำกับบุคลากรในศูนย์ของตนเองให้มากขึ้น
ด้านการธำรงรักษาบุคลากร พบว่า มีปัญหาอุปสรรคมาก เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นองค์การทางคณะสงฆ์ ซึ่งมีตำแหน่งงานไม่มาก และมีงบประมาณในการบริหารจัดการจำกัด มีผู้มาสมัครน้อยและไม่มีข้อสัญญาให้อยู่ปฏิบัติงาน วิธีปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการปรับเพิ่มค่าภัตตาหารตามความเหมาะสมสภาพเศรษฐกิจขององค์การและผลการปฏิบัติงานของพระธรรมจาริก มีการปรับทัศนคติให้พระธรรมจาริกมีจิตอาสาและมีการเพิ่มสวัสดิการอื่นๆ
|