การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ๒. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร การศึกษาครั้งนี้ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) ทั้งวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๓๘๒ คน จากจำนวนประชากร ๘,๔๔๖ คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที (t-test), การทดสอบค่าเอฟ (F-Test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD). การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๒, S.D.= ๐.๔๐๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีลำดับดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ( = ๓.๘๘, S.D.= ๐.๔๘๔), ด้านหลักคุณธรรม ( = ๓.๘๐, S.D.= ๐.๕๐๐), ด้านหลักความโปร่งใส ( = ๓.๘๔, S.D.= ๐.๔๗๑), ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = ๓.๗๗, S.D.= ๐.๔๘๐), ด้านหลักความรับผิดชอบ ( = ๓.๗๙, S.D.= ๐.๕๐๘) และด้านหลักความคุ้มค่า ( = ๓.๘๔, S.D.= ๐.๔๘๐).
๒) ผลการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมติฐานที่ตั้งไว้. ส่วน ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร คือผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีการนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้การบริหารงานขององค์การไปในทิศทางเดียวกัน โดยยึดหลักความถูกต้องตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่ชอบธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลควรสร้างทัศนคติทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่บุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรภายในองค์การ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
๔) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร สามารถสรุปได้ดังนี้ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีการนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานอย่างแท้จริง ในการวางแผนยุทธ์ศาสตร์ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ยึดหลักความถูกต้องเป็นธรรมและความเสมอภาค เพื่อให้การทำงานเกิดความโปร่งใส ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน
|