หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธีระพงศ์ ธีรปญฺโญ (จันทนา)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอ ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระธีระพงศ์ ธีรปญฺโญ (จันทนา) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  ดร.ยุทธนา ปราณีต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไปเป็นบุคลากรในการศึกษา โดยเลือกบุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๑๘๖ คน จากจำนวนบุคลากร ๓๖๘ คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน  (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช บุคลากรมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๘๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการบริหารวัสดุอุปกรณ์ (  = ๓.๙๑) ด้านการบริหารทั่วไป (  = ๓.๘๔) ด้านการบริหารงานบุคคล (  = ๓.๗๕) และด้านการบริหารงบประมาณ (  = ๓.๗๓)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า การจัดตำแหน่งบุคลากรไม่ตรงกับตำแหน่งของงานที่ทำ สืบเนื่องจากการใช้ระบบอุปถัมภ์ ด้านการบริหารงบประมาณพบว่า งบประมาณจัดสรรจากรัฐน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นในการบริการประชาชนและมีข้อจำกัดในการใช้งบประมาณในการบริหารงาน ต่างๆ ด้านการบริหารทั่วไป พบว่า ขาดการประสานงานที่ดีทำให้การทำงานไม่ราบรื่นและล้าช้าและการทำงานมีความซับซ้อน และด้านการบริหารวัสดุอุปกรณ์ พบว่า วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการบริหารงานต่างๆ และวัสดุอุปกรณ์ไม่ค่อยมีความทันสมัย ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ควรคัดสรรบุคลากรให้มีความเหมาะสมกับงานที่ทำ โดยใช้ระบบการคัดเลือกบุคลากรโดยใช้ระบบคุณธรรมในการคัดเลือกบุคลากร และควรจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอยู่เสมอ ควรจัดสรรงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานและประชาชนมากที่สุด และเน้นการประสานงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อความรวดเร็วในการบริหารงานและควรปรับปรุงระบบการบริหารให้มีความยืดหยุ่นและให้มีความชัดเจน และการบริหารวัสดุอุปกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยสะดวกรวดเร็วต่อการบริการประชาชน 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕