การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและขอเสนอแนะประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างกับ พระนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่วิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก อำเภอปากเซ จังหวัดจำปาสัก สาธารณะรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน ๑๕๒ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๖๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยประชากร (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () นาเสนอในรูปตารางประกอบคาบรรยายและใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า
๑. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสักโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( =๓.๗๖ , S.D.=๐.๑๑๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้าน วิชาการมีความคิดเห็นว่า ประสิทธิภาพการบริหารงาน อยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๑, S.D. =๐.๘๓๓) รองลงมาก็คือด้านบริหารอยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๒๙ , S.D.=๐.๗๘๘) และสุดท้ายคือด้านวิชาการ ( =๓.๒๙, S.D.=๐.๒๖๘) ก็อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน
๒. ผลการเปรียบความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ พรรษา การศึกษาชั้นปี มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสักแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนบุคลากรที่มี อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน
๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการบริหารงานของวิทยาลัยสงฆ์จำปาสักนั้น พบว่าปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นในวิทยาลัยสงฆ์จำปาสัก คือ พระนิสิตบางส่วนมีทักษะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีการผลิตสื่อการเรียนการสอนน้อยวิทยาลัยในขาดงบประมาณในการส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้กับนิสิต บุคลากรขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานในวิทยาลัย บุคลากรมีอิสระในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่มากนัก และการบริหารงานบุคคลมีระบบการบริหารจัดการในการใช้อาคารสถานที่ ไม่เป็นระเบียบจึงส่งผลให้การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนไม่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
๔. ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารและบุคลากรควรมีการส่งเสริมพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน รวมทั้งควรจัดสรรสรรงบประมาณส่งเสริมบุคลากรไปอบรมความรู้ การผลิตสื่อการสอนมีการจัดซื้อเครื่องมือการเรียนการสอนที่ทันสมัย ส่วนด้านการบริหารงานงบประมาณ มีการแจ้งงบประมาณทุกครั้งที่จ่ายไปในที่ประชุมทราบทุกคนและสามารถตรวจสอบได้ ด้านการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีบทบาทของการเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม หรือต่อผู้บริหารในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานวิทยาลัย
|