การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของ พระสงฆ์ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการ ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพระสังฆาธิการและ พระสงฆ์ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๕๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครคือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๗๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ ( = ๔.๒๙) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( = ๓.๕๙) ด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ( = ๓.๕๑) และอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านการสร้างแรงจูงใจให้ทรัพยากรมนุษย์ ( = ๓.๔๖)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของ พระสงฆ์ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ตำแหน่งมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วน พระสงฆ์ที่มี พรรษา การศึกษาสามัญ การศึกษาทางธรรม การศึกษาเปรียญธรรม และประสบการณ์ทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่าการส่งเสริมเรื่องการศึกษายังขาดการสนับสนุนอยู่มาก รวมไปถึงการเอาใจใส่ต่อทรัพยากรมนุษย์ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา การขาดการดูแลพระภิกษุ สามเณรที่ อาพาธ ควรให้การช่วยเหลือมากขึ้น และควรมีขั้นตอนและระเบียบวีธีการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนาที่รัดกุมรอบคอบมากขึ้น
๔) ผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพระสังฆาธิการในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ควรเริ่มต้นโดยการเอาใจใส่ต่อการศึกษา โดยการส่งเสริมให้บุคลากรที่ดีได้มีการศึกษาที่สูงขึ้น และสมควรได้รับการพิจารณาตำแหน่งต่างๆ ที่สูงขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงการให้ความสำคัญต่อชีวิตการเป็นอยู่ของพระสงฆ์สามเณรอีกด้วย
|