หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อภิรักษ์ เขียวประเสริฐ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : อภิรักษ์ เขียวประเสริฐ ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ ๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะคติของข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods)  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป เป็นประชากรในการศึกษาโดยเลือกประชากรเป็นข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ จำนวน ๑๗๑ นาย จากจำนวนประชากร ๓๐๐ นาย  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของเครจชี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๒.๖๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านธัมมัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ด้านอัตถัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักผล ด้านอัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักตน และด้านมัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านกาลัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาที่เหมาะสม ด้านปริสัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักชุมชนและสังคม และด้านปุคคลปโรปรัญญุตา : ความเป็นผู้จักบุคคลหรือรู้จักใช้บุคคลที่เหมาะสมกับงานอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านธัมมัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ( =๒.๙๔) ด้านมัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ( =๒.๗๓) ด้านอัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักตน ( =๒.๖๙) ๒.ด้านอัตถัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักผล ( =๒.๖๑) ส่วนด้านกาลัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาที่เหมาะสม ด้านปริสัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักชุมชนและสังคม และด้านปุคคลปโรปรัญญุตา : ความเป็นผู้จักบุคคลหรือรู้จักใช้บุคคลที่เหมาะสมกับงาน ( =๒.๕๗)
๒) เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระดับยศ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า ข้าราชการตำรวจที่มี ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการตำรวจที่มี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับยศ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ พบว่า คณะผู้บริหารกองกำกับการอารักขา ๑ ควรแต่งตั้งมอบหมายงานให้ครอบคลุมทุกปัญหาพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแจ้งปัญหาต่าง ๆ ได้ ควรศึกษาผลดีผลเสียอันจะเกิดจากการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและควรแบ่งงานให้เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเพื่อความรวดเร็วของงาน
๔) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจในกองกำกับการอารักขา ๑ สรุปได้ว่า ตำรวจต้องทำงานรับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่ โดยมีการวางแผนการทำงานให้เหมาะสม เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาโดยคำนึงถึงหลักเหตุผล กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักหลักการทำให้เกิดผล รู้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนรู้จักการบริหารที่จะทำให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์บรรลุถึงประโยชน์ จะต้องมีความรู้จักรับผิดชอบตน รู้จักวางตนให้เหมาะสม รู้จักประพฤติตนให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อประชาชน

ดาวน์โหลด


 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕