การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประเมินผลโครงการกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประเมินผลโครงการฯ รูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานในโครงการกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข เพื่อการพัฒนาโครงการกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี เป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บางกอกน้อย จำนวน ๔๐๐ คน จากจำนวนประชากร ๑๒๐,๐๓๒ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) โครงการกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X¯ = ๓.๖๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดัตนบ คือด้านบริบท (สภาวะแวดล้อม) (X¯ = ๓.๖๘, S.D. =๐.๘๐๖) ด้านปัจจัยนำเข้า (X¯ = ๓.๖๘, S.D. =๐.๘๐๖) ด้านกระบวนการ (X¯ = ๓.๖๐, S.D. =๐.๙๒๘) ด้านผลผลิต (X¯ = ๓.๖๖, S.D. =๐.๙๖๐)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศอายุ สถานภาพระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย พบว่าระดับการศึกษาอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการกรุงเทพฯเมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ และระยะเวลาอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อโครงการกรุงเทพฯเมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพื่อการพัฒนาโครงการกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ของเขตบางกอกน้อยพบว่าด้านบริบท ควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการเพื่อสร้างกระแสท้องถิ่นในเรื่องเมืองน่าอยู่ โดยเน้นกระแสความสนใจในคุณภาพชีวิต สุขภาพ สิ่งแวดล้อมของเมืองและชุมชนให้ทั่วถึง และควรจัดตั้งเป็นเครือข่ายการทำงานเมืองน่าอยู่เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการแสดงความคิดเห็นของตนเองด้านปัจจัยนำเข้า ควรส่งเสริมสนับสนุนด้านบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้มากขึ้น
|