หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นิพนธ์ โอภาษี
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : นิพนธ์ โอภาษี ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระโสภณวราภรณ์, ดร.
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์   ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล           ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ศึกษาวิจัยโดยใช้           การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในตำบล           ห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๕๘ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมี         ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยจำแนกตามลักษณะของตัวแปร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การทดสอบค่า ที (t–test) และทดสอบค่าเอฟ (F–test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) 

ผลการวิจัยพบว่า 
๑. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การ บริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก       (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๓) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน คือ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา พบว่าประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 
๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริหารขององค์กร ที่ใช้อำนาจการตัดสินใจฝ่ายเดียวและไม่นำข้อมูลปัญหาของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ดังนั้น การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดเป็นนโยบาย นโยบายถึงจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่และองค์การบริหารส่วนตำบลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานในโครงการและกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลนอกจากนั้นการบริหารงานควรนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือหลักอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ)และวิมังสา (ความไตร่ตรอง)มาประยุกต์ใช้ทั้งการบริหารตน บริหารคน และบริหารงานเพื่อให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕