หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนิคม ธมฺมธโร (พงษ์สมุทร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบคำสอนเรื่องศีลในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับคัมภีร์วิมุตติมรรค
ชื่อผู้วิจัย : พระนิคม ธมฺมธโร (พงษ์สมุทร) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุริโย อุตฺตมเมธี, ดร
  ผศ.ชำนะ พาซื่อ
  ผศ.ไกรวุฒิ มะโนรัตน์
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยนี้   มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ  คือ  ๑) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องศีลในคัมภีร์วิสุทธิมรรค  ๒) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องศีลในคัมภีร์วิมุตติมรรค  ๓) เพื่อเปรียบเทียบคำสอนเรื่องศีลในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับคัมภีร์วิมุตติมรรค ผลการวิจัยพบว่า

ศีลในคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยความหมาย ได้แก่ พฤติกรรมที่ถูกควบคุมอย่างดี กล่าวคือ ควบคุมกาย วาจาให้เรียบร้อย และรองรับกุศลธรรมทั้งหลาย โดยธรรมชาติ ได้แก่ เจตนา เจตสิก สังวร และอวีติกกมะ โดยลักษณะ ได้แก่ ควบคุมพฤติกรรม โดยหน้าที่ ได้แก่ กำจัดความทุศีล โดยผล ได้แก่ ความสะอาดกาย ความสะอาดวาจา และความสะอาดใจ โดยเหตุใกล้ ได้แก่ ความมีหิริคือความละอายใจต่อการทำชั่วทั้งปวง และความมีโอตตัปปะคือมีความกลัวตัวบาปต่อการทำชั่ว โดยสารัตถะ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ คือ (๑) ปาฏิโมกขสังวรศีล การสำรวมรักษาสิกขาบทอย่างเคร่งครัด (๒) อินทรียสังวรศีล การสำรวมรักษาอินทรีย์ ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล การเว้นขาดจากมิจฉาชีวะ (๔) ปัจจยสันนิสิตศีล การพินิจพิจารณาการใช้ปัจจัย ๔ โดยศีลข้อแรก เกิดขึ้นด้วยศรัธาคือความเชื่อมั่น ศีลข้อสองเกิดขึ้นด้วยสติ ศีลข้องสามเกิดขึ้นด้วยวิริยะคือความเพียร และศีลข้อสี่เกิดขึ้นด้วยปัญญา
ส่วนศีลในคัมภีร์วิมุตติมรรค ได้แก่ ความเย็น ความดี ความเลิศ การกระทำ ปกติ และสภาพปกติตามธรรมชาติของทุกข์และสุข หรือหมายถึงศีรษะ ความเย็น และสันติ โดยธรรมชาติ ได้แก่ เจตนา เวรมณี และอวีติกกมะ โดยลักษณะ ได้แก่ การละความเสื่อมคุณค่า  ความเสื่อมคุณค่าหรือความด้อยคุณค่า หมายถึงการละเมิดปาฏิโมกขสังวรศีล  เสื่อมศรัทธาในพระตถาคตเนื่องจากอหิริกะ (ไม่ละอายใจ) และอโนตตัปปะ (ไม่เกลงกลัวบาป)  การละเมิดปัจจัยสันนิสสิตศีล สูญเสียความสันโดษ (ความพอใจในปัจจัยตามมีตามได้)  และการละเมิดอินทรียสังวรศีล ละเลยโยนิโสมนสิการเพราะไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหก โดยหน้าที่ ได้แก่ ปิติและโสมนัส โดยผลมีผล ได้แก่ อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) โดยเหตุใกล้ ได้แก่ กุศลกรรมทางไตรทวาร คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ  และการสำรวมอินทรีย์ทั้งปวง โดยสารัตถะ ได้แก่ “ปาริสุทธิศีล ๔” เช่นเดียวกันกับในวิสุทธิมรรค   

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕