หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาไสว สนฺตมโน (ฤทธิ์วิชัย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบการคบมิตรในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาไสว สนฺตมโน (ฤทธิ์วิชัย) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชสิทธิมุนี วิ., ดร.
  ดร. ณัทธีร์ ศรีดี
  ดร. สฤษฎ์ แพงทรัพย์
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยนี้   มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ  คือ  ๑) เพื่อศึกษาการคบมิตรในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒)  เพื่อศึกษาการคบมิตรในทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการคบมิตรในทางพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ผลการวิจัยพบว่า
มิตรในพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีนัยที่เหมือนกัน คือ มิตรแท้และมิตรเทียมโดยมิตรแท้นั้นมีลักษณะที่ควรแก่การคบหาสมาคมด้วย ส่วนมิตรเทียมหรือทุรมิตร มิตรชั่ว  ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย เพราะมีแต่การชักนำไปสู่ความเสื่อมทั้งตัวเองและส่วนรวมความสำคัญของมิตรในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ เป้าหมายของการคบมิตร ๒ ลักษณะคือ การคบมิตรเพื่อเป้าหมายอันเป็นโลกิยะหมายถึงมิตรสหายทั่วไป  กับการคบมิตรเพื่อเป้าหมายอันเป็นโลกุตระ เพื่อเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน  ส่วนศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ก็มีเป้าหมายคือการเข้าสู่ความเป็นเพื่อนกับพรหมหรือพระผู้เป็นเจ้า โดยมุ่งแสวงหาบุคคลผู้ชี้หนทางแห่งโมกษะ
การฝึกตนให้เป็นมิตรที่ดีนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาท มองว่า ๑) เราเองต้องทำตัวเองให้เป็นมิตรที่ดีแก่บุคคลอื่น  ๒) ทำตนให้เป็นที่รักแก่บุคคลอื่น  ๓) เราต้องทำตัวเองให้เป็นกัลยาณมิตร ส่วนศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มุ่งให้บุคคลพัฒนาตนทั้ง ๓ ด้าน ๑) ด้านกาย  ๒) ด้านวาจา  และ ๓) ด้านจิตใจ  
ในประเด็นเกี่ยวกับหลักธรรมที่ส่งเสริมการคบมิตร ทั้งพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีมุมมองคล้ายกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้ ๒ ประการด้วยกัน คือ ๑) หลักธรรมพื้นฐานทั่วไป  และ ๒) หมวดสร้างมนุษย์สัมพันธ์  
ในประเด็นการนำหลักการคบมิตรไปประยุกต์ใช้กับสังคม ผู้วิจัยเสนอวิธีนำไปใช้ ๖ ประการด้วยกัน คือ (๑) ความเอื้ออาทร  (๒) ความเชื่อถือและไว้วางใจ (๓) ความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเรา (๔) ความเห็นอกเห็นใจ (๕) การให้ความเคารพ  และ (๖) ความเป็นผู้มีอารมณ์ขัน ซึ่งทั้ง ๖ ประการนั้นเป็นลักษณะร่วมกันของทั้ง ๒ ศาสนาที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมและได้ผลอย่างชัดเจน
 

ดาวน์โหลด


 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕