หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสีม สงฺฆโมทโก (ถัจ)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสีม สงฺฆโมทโก (ถัจ) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. อินถา ศิริวรรณ
  ผศ.ดร.บุญเลิศ จีรภัทร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง  จังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จากกลุ่มตัวอย่าง  ๑๓๕  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ (One – Way Analysis of Variance: ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 
๑. การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง  จังหวัดอ่างทอง  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย คือ ๓.๗๒ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง ส่วนระดับคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ในด้านต่ำสุดคือ   ด้านการออกจากราชการ    
๒. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบผู้บริหารที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง  จำแนกตามเพศ   โดยการทดสอบค่า (t-test) พบว่า ครูและผู้บริหารที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง      จังหวัดอ่างทอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบผู้บริหารที่มีต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ทั้ง ๖ ด้านจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๔. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง สรุปได้ ดังนี้
๑) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง ปัญหา อุปสรรค คือ ไม่มีขั้นตอนในการวางแผนกำหนดอัตราข้าราชการครู ไม่มีการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง ไม่มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพครู ข้อเสนอแนะคือ ควรมีขั้นตอนในการวางแผนกำหนดอัตราข้าราชการครู มีการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและวางแผนพัฒนาคุณภาพครู
๒) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ปัญหา อุปสรรค คือ ขาดหลักเกณฑ์ในการสอบคัดเลือก ข้อเสนอแนะคือ มีหลักเกณฑ์ในการสอบคัดเลือกและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาข้าราชการครู
๓) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ปัญหา อุปสรรค คือ ไม่อนุญาตให้ข้าราชการครูลาศึกษาต่อ ข้อเสนอแนะคือ ควรอนุญาตให้ข้าราชการครูลาศึกษาต่อ
๔) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ปัญหา อุปสรรค คือ ไม่เปิดโอกาสให้ข้าราชการครูมีส่วนร่วมในการกำหนดวินัย ข้อเสนอแนะคือ ควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูมีส่วนร่วมในการกำหนดวินัย
๕) ด้านการออกจากราชการ ปัญหา อุปสรรค คือ ข้าราชการครูที่เจ็บป่วย หย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ราชการและประพฤติไม่เหมาะสมไม่ให้ออกจากราชการ ข้อเสนอแนะคือ ควรให้ข้าราชการครูที่เจ็บป่วย หย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ราชการและประพฤติไม่เหมาะสมให้ออกจากราชการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
๖) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ ปัญหา อุปสรรค คือ ไม่มีการจัดสวัสดิการนอกเหนือจากที่ทางราชการจัดให้ ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดสวัสดิการนอกเหนือจากที่ทางราชการจัดให้ มีการพิจารณาความดีความชอบอย่างยุติธรรม และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการปฏิบัติงาน

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕