หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชนาพัช แถวพิณี
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การศึกษาการจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ กลุ่ม ๖ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ชนาพัช แถวพิณี ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. สิน งามประโคน
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการคือ (๑)เพื่อศึกษาการจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓  (๒)เพื่อเปรียบเทียบระดับการจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓  (๓)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓ ใน ๕ ด้าน โดยประชากรในการศึกษาประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน  ๓๑๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบหาค่า t-test and F-test (one way ANOVA)    
ผลการวิจัยพบว่า 
๑. การจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ กลุ่ม ๖ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านการวัดและประเมินผล ด้านกิจกรรมการเรียนรู้  ด้านกระบวนการเรียนรู้  ด้านสื่อการเรียนรู้  และด้านเนื้อหาวิชาตามลำดับ
๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการศึกษาการจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ กลุ่ม ๖  ทั้ง ๕ ด้าน  โดยจำแนกตาม เพศ และรายได้ครอบครัวไม่แตกต่างกันแต่จำแนกตามระดับผลการเรียนและอาชีพผู้ปกครองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ข้อเสนอแนะการจัดการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓   ๑) ด้านเนื้อหาวิชาควรปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้มีความทันสมัยและมีคุณภาพ เหมาะสมกับผู้เรียน       ที่นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ควรมีสื่อการสอนที่หลากหลายและมีความทันสมัยเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ๒) ด้านกระบวนการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศห้องเรียนที่น่าสนใจสนุก ไม่เคร่งเครียดและควรสร้างความเป็นกันเองระหว่างครูแก่นักเรียน  ๓) ด้านสื่อการเรียนรู้ ควรมีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและทันสมัยมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงสื่อ และมีแนวทางพัฒนานักเรียนให้เข้าใจเรื่องสื่อและการใช้สื่อสำหรับพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง  ๔) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น และเน้นกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้เรียนมาเพื่อเป็นการส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถ ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  ๕) ด้านการวัดและประเมินผล  ควรมีการประเมินผลการเรียนเป็นระยะๆ และนำผลการเรียนของนักเรียนไปปรับปรุงการเรียนการสอน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕