การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒) เพื่อศึกษาแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การวิจัยประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ๑๒๕ คน และครูผู้สอน ๒๐๐ คน เครื่องมือ ที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ของสภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษา เท่ากับ ๐.๙๖ และปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาเป็น ๐.๙๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test , (Independent samples) และ F – test, แบบ (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe')
ผลการวิจัย
๑. สภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์และการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา
๒. ปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับ น้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ รองลงมาคือ ด้านการปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุด คือ ด้านการกำหนดทิศทางการจัด การศึกษา
๓. การเปรียบเทียบสภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .๐๐๑
๔. การเปรียบเทียบปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ไม่แตกต่างกัน
๕. การเปรียบเทียบสภาพการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
๖. การเปรียบเทียบปัญหาการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีปัญหาไม่แตกต่างกัน
๗. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ไว้ดังต่อไปนี้
ควรจัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์สำหรับคุคลากร ควรมีการกำหนดองค์ประกอบภายในและภายนอกสถานศึกษาที่สามารถกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาควรสร้างวิสัยทัศน์ที่สามารถปฏิบัติได้ และควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
|