การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารด้านวิชาการของโรงเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๒. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อการบริหารด้านวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล
๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการบริหารด้านวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ศึกษาวิจัยประชากรที่เป็นนักเรียน จำนวน ๓๐๒ รูปโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๕ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า F–test และการเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One – Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุตั้งแต่ ๑๓ – ๑๕ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๖ระดับชั้นเรียน มัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔ วุฒิการศึกษา นักธรรมชั้นตรี
คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๓ และสถานที่ศึกษา โรงเรียนวัดเจดีย์งามปริยัติวิทยา คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๗
๒. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการบริหารด้านวิชาการของพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๕ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล ด้านกิจกรรมการสอนด้านการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการสอน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า นักเรียน
มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญระดับ ๐.๐๕ ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน
ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการวัดและประเมินผล ผลรวมทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัญหาการบริหารด้านวิชาการ ขาดการวางแผนจัดการหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนครูบางท่านไม่ค่อยชำนาญในรายวิชาที่สอน ขาดงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ขาดการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และขาดการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการบริหารด้านวิชาการ วางแผนและจัดการหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนสรรหาบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถในการสอน จัดหางบประมาณซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ที่ทันสมัย จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้เรียน ควรมีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายวิธีอย่างต่อเนื่อง
|