การวิจัยเรื่อง“ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร,๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร,๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร๔โรงเรียนเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี ๔ โรงเรียนประกอบด้วยบุคลากร จำนวน ๑๑๓ คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มโดยเทียบตารางกลุ่มตัวอย่างของ R.V.KrejecieD.W.Mogranเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม ๕ ระดับ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)สถิติทดสอบ(t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance :F-test) โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
๑. ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเมตตา อยู่ในระดับมาก ด้านกรุณา อยู่ในระดับมาก ด้านมุทิตา อยู่ในระดับมากด้านอุเบกขาอยู่ในระดับมาก
๒.เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร๔ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครเมื่อจำแนกตามปัจจัยบุคคลได้แก่ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่ง บุคลากร มีความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ทั้ง ๔ ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผลวิจัยพบว่าด้านเมตตา พบว่า มีปัญหารายบุคคลเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่และผู้บริหารสถานศึกษาคิดแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม,ด้านกรุณา พบว่าบุคลากรบางท่านเข้าใจผิดว่าความกรุณาจะต้องได้รับจากผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น แต่ความการทำงานร่วมกันต้องมีความกรุณาซึ่งกันและกัน,ด้านมุทิตา พบว่า ผู้บริหารเลือกที่จะแสดงความยินดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาบางท่านเท่านั้นเมื่อได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน เลื่อนขั้นได้ตำแหน่ง, ด้านอุเบกขา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาบางท่านยังมีความอิจฉาเห็นผิดเป็นถูกไม่ค่อยให้ความยำเกรงไม่เคารพ ซึ่งกันและกันมากเท่าที่ควรจะเป็นและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหา ด้านเมตตา พบว่า ผู้บริหารควรมอบความรักความอบอุ่นด้วยไมตรีจิตที่ดีต่อผู้ใช้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา, ด้านกรุณา พบว่า ผู้บริหารควรให้ความสงสารต่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีเป็นเพศหญิงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานที่น้อยกว่าและผู้ใต้บังคับบัญชาควรที่จะให้ความเคารพต่อผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ, ด้านมุทิตา พบว่า ผู้บริหารควรพลอยยินดีทุกครั้งเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ประสบผลสำเร็จในการทำงานเช่นได้รับตำแหน่งสูงขึ้นเท่าที่จะทำได้สม่ำเสมอด้านอุเบกขา พบว่า ผู้บริหารควรวางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าทีไม่เข้าใจใครคนใดคนหนึ่งไม่เลือกที่รักมักที่ชัง.
|