หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญเฮ้า หิริโก (ปัญญาสุข)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญเฮ้า หิริโก (ปัญญาสุข) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล, ผศ. ดร.
  ผศ. ดร. สิน งามประโคน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : : ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยเรื่องการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ๒. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน ๑๖๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามส่วนประมาณค่า   สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานt-testและf-test           (One-Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิจัย 
๑) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล
๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ทุกด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ปัญหาด้านหลักสูตรขาดการวางแผนที่ดี ด้านการเรียนการสอนขาดทำแผนการสอนที่ดี  ด้านสื่อการเรียนการสอนขาดทักษะการใช้สื่อที่ทันสมัย ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนขาดกิจกรรมสร้างแปลกใหม่ และขาดการวัดและประเมินผลที่ชัดเจน
๔) แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรควรกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจนและประชุมสัมมนาคณะครู ด้านการเรียนการสอนควรทำแผนการสอนที่ดี ด้านสื่อมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการใช้สื่อที่ทันสมัย ควรมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน และมีการติดตามวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕