การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์๑)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม๔โรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต๑กรุงเทพมหานคร๒)เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม๔โรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต๑กรุงเทพมหานคร๓)เพื่อศึกษาแนวทางการใช้หลักฆราวาสธรรม ๔ กับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต๑ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารและครูชั้นประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต๑กรุงเทพมหานคร จำนวน๒๑๗คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(OneWayANOVA)เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (Least Significant Difference : LSD)โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการวิจัย
ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม ๔โรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต๑กรุงเทพมหานคร ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านการสั่ง ด้านความสัมพันธ์ ด้านคุณสมบัติส่วนบุคคลและด้านการจัดการระบบการทำงานตามลำดับ
ผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้บริหารและครูที่มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์สอนที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาตามหลักฆราวาสธรรมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕
ส่วนผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาตามหลักฆราวาสธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕
ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม๔โรงเรียนประถมศึกษา คือ อยากให้ผู้บริหารรับฟังข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ด้วยการยึดหลักฆราวาสธรรม๔ เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดถึงเปิดโอกาสให้ชุมชนรอบโรงเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้หลักขันติและเสียสละเพื่อส่วนร่วมให้มาก
|