หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พัชรินทร์ แจ้งอิ่ม
 
เข้าชม : ๒๑๐๕๐ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา ๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พัชรินทร์ แจ้งอิ่ม ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษารูปแบบความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์จำนวน ๓๖๐  คนในปีการศึกษา ๒๕๕๖ใช้ระเบียบวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Research) มีการใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๘๖ คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูล ที่ได้รวบรวมมา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test )และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD )กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและข้อเสนอแนะโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

ผลการวิจัย พบว่า  ข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 
 (  = ๓.๗๔) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของของข้าราชการครูต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์พบว่า เพศ กลุ่มอายุระดับการศึกษาอายุราชการและขนาดโรงเรียนก็พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยเมื่อมองในภาพรวม และแบ่งเป็นกลุ่มตามปัจจัยส่วนบุคคล คือเพศ อายุระดับการศึกษาและอายุราชการก็พบว่าไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐานและยังพบว่าแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานการวิจัย เฉพาะสถานภาพส่วนบุคคล ดังนี้อายุ คือ ด้านปัญญาภาวนาก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้และระดับการศึกษา คือด้านปัญญาภาวนาก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้และอายุราชการคือด้านปัญญาภาวนาก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้และขนาดโรงเรียน คือ ด้านกายภาวนา ก็พบว่า แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑  ด้านสีลภาวนา ก็พบว่า แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑  ด้านจิตตภาวนา ก็พบว่า แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ และด้านปัญญาภาวนาก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑ จึงยอมรับสมมติฐาน
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา๔ ในเขตอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ๔ ด้าน คือ ด้านกายภาวนา ด้านสีลภาวนาด้านจิตตภาวนา และด้านปัญญาภาวนา สถานศึกษามีภารกิจหน้าที่มอบหมายให้ข้าราชการครูนำไปปฏิบัติและข้าราชการครูรับภารกิจหน้าที่ทีได้รับมาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในขั้นตอนการปฏิบัติโดยการใช้หลักธรรมเข้ามาพิจารณาในเนื้องานและกระบวนการทำงานและความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยใช้หลักภาวนา๔ดังนี้ด้านกายคือมีร่างกายที่มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่องด้านศีลคือการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องโดยยึดกฎระเบียบวินัยอย่างเคร่งคัดด้านจิตตะคือมีจิตใจที่แน่วแน่ในการปฏิบัติงานและปัญญาคือมีไหวพริบปฏิพาณในการทำงานการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยความรอบครอบไต่ตรองอย่างถี่ถ้วนและเมื่อมีกระบวนมีการปฏิบัติงานที่ดีแล้วผลการปฏิบัติงานก็จะออกมาดีเช่นกันสุดท้ายตัวสถานศึกษาเองก็ได้รับประโยชน์จากผลพวงของการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษาในที่สุดสถานศึกษาก็ให้ผลตอบแทนกับข้าราชการครูที่ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถโดยการให้รางวัลตอบแทนอทิเช่นการเลื่อนเงินเดือน, เลื่อนชั้นยศ, ตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นเป็นต้นและท้ายที่สุดเมื่อข้าราชการครูได้รับรางวัลตอบแทนจากสถานศึกษาแล้วข้าราชการครูก็จะตั้งใจในการปฏิบัติงานและยังเป็นแบบอย่างให้กับข้าราชการครูท่านอื่นๆให้ตั้งใจมากยิ่งขึ้นในการปฏิบัติงานสถานศึกษาก็จะได้รับผลจากการที่ข้าราชการครูตั้งใจปฏิบัติด้วยนั้นเอง

ดาวน์โหลด

 
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕