การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคล ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน( ๑o๓) รูป/คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน( Mixed Methods Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์เมื่อมองในภาพรวมจะเห็นว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในระดับมาก ( X̅ = ๓.๖๕) หากมองในแต่ละด้านของหลักสังคหวัตถุ ๔ ทั้ง ๔ ด้าน ค่าเฉลี่ย เลขคณิตก็อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทาน (X̅= ๓.๗๔ ),ด้านอัตถริยา(X̅=๓.๖๘) ด้านปิยวาจา (X̅= ๓.๖๕ ) และด้านสมานัตตตา (X̅= ๓.๕o )
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักสังคหวัตถุ๔ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความคิดเห็นผู้ปกครองชาย และผู้ปกครองหญิงตามหลักสังคหวัตถุ ๔ พบว่า เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ทั้งในภาพรวมปรากฏว่า ผู้ปกครองชายและผู้ปกครองหญิง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
จึงต้องปฏิเสธสมมติฐานทั้งภาพรวม และรายด้าน ของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แยกตามอายุของ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง พบว่า อายุที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความคิดเห็นในการมีสวนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่.o๕ มีอยู่เพียงด้านเดียว คือ ด้านอัตถจริยา ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองที่มีอายุต่างกันมีความเห็นที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .o๕ จึงสรุปได้ว่าต้องปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่แตกต่างกันทีระดับนัยสำคัญที .o๕ มีอยู่เพียงด้านเดียวที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่แตกต่างกัน คือ ด้านสมานัตตตาดังนั้น จึงต้องปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้เพราะว่าในภาพรวม F= ๒.๒๙๙ ไม่มีนัยสำคัญตามสถิติที่.o๕ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง ที่มีอาชีพแตกต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .o๕ หมายความว่า ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่.o๕ จึงต้องปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ การจำแนกตามรายได้ของด้านต่างๆของ สังคหวัตถุ ๔พบว่าค่า Fในทุกด้านไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที.o๕ หมายความว่า ผู้ปกครองที่มีรายได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่แตกต่างกันในด้านทาน, ปิยวาจา, อัตถจริยา, สมานัตตตา, ต้องปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
สรุปการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตาม หลักสังคหวัตถุ ๔ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มากำหนดเป็นรูปแบบของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลธารทหาร จังหวัดนครสวรรค์ โดยเป็นการประยุกต์ใช้ร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จะออกมาเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้และวิธีการ สำหรับนำไปใช้กับผู้บริหาร ครู เด็ก ผู้ปกครอง และคณะกรรมการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยรวม คือ ๑) ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาว่างเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากต้องประกอบอาชีพ ๒) มีฐานะยากจน ๓) ขาดความสามารถทางการศึกษา จึงไม่ค่อยกล้าแสดงออก ๔) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขาดการวางแผนการจัดการ ๕) ไม่มีรูปแบบการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมได้หลากหลายสถานภาพ ๖) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างแท้จริงจึงไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นแต่เป็นเพียงแค่รับรู้และรับนโยบายเท่านั้น
|