หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เพ็ญนภา พิลึก
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : เพ็ญนภา พิลึก ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดสัมพิพัฒนปัญญาจารย์, ดร.
  ดร.มงคลชัย ศรีสะอาด
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรม          ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา  และ ๒) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโดยศึกษา           กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน  ๑๖๙  คน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  (Mixed Research)  ระหว่างการวิจัย       เชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม  (Questionnaire)  และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย         เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสรุปข้อมูล  ปัญหา  อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ 

ผลการวิจัยพบว่า 
             ๑.  ผู้บริหารสถานศึกษามีการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา    และใช้เป็นตัวขับเคลื่อนที่จะนำพาตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม ได้แก่          หลักสัปปุริสธรรม  ๗  ในด้านการครองตน  หลักสังคหวัตถุ  ๔ ในด้านการครองคน  และหลักอิทธิบาท  ๔  ในด้านการครองงาน 
             ๒.  ความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า  ผู้บริหารมีการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ในด้านการครองตน  หลักสังคหวัตถุ ๔ ในด้านการครองคน และหลักอิทธิบาท ๔ ในด้านการครองงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  (  = ๔.๑๙)  
             ปัญหา อุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา  ในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ยังคงมีบางสถานศึกษาที่ประสบกับปัญหาต่างๆ คือ  ๑) ความรู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่ายเมื่อเผชิญปัญหาต่างๆ ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบ            ในการวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ๒) บุคลากรในสถานศึกษาไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากความเคยชินที่ได้รับ  และ  ๓)  ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพ  ขาดคุณธรรมตามหลักพุทธธรรมจึงทำให้ไม่ตั้งใจในการทำงาน  และบางคนยังไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่และภาระงานของตน  
            ส่วนข้อเสนอแนะมีดังนี้  ๑)  ผู้บริหารควรเข้าใจในหลักการบริหาร เป้าหมาย ภารกิจ และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน  และต้องเข้าใจในหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้สามารถบูรณาการให้เป็นเรื่องเดียวกันได้  ๒)  ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรม ปลูกจิตสำนึกให้รักการทำงานและรักงานมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน  ๓) ผู้บริหารสถานศึกษาควรรู้จักกระจายอำนาจ  แบ่งงาน กระจายทรัพยากร ให้โอกาสคนทำงาน  มีส่วนร่วมในการคิด และเลือกบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมกับงานนั้นๆ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล พร้อมทั้งหาแนวร่วมหรือผู้ร่วมงานตลอดจนปัจจัยที่เกื้อหนุน ธรรมชาติ  จังหวะและเวลาที่เหมาะสมและพอดี

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕