การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ การดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชากร จำนวน ๑๐๐ คน โดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มประชากรแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ดังนี้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลวิจัยพบว่า
๑. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ด้านความพร้อมเพรียงกันประชุมพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม ด้านการไม่ตั้งกฎระเบียบที่ขัดต่อ ระเบียบของโรงเรียน ด้านการมีความเคารพนับถือต่อผู้บังคับบัญชา ด้านการให้ความเคารพต่อเพศสตรี ด้านการมีความเคารพต่อสถานที่ภายในโรงเรียน ด้านการให้ความดูแลเอาใจใส่แก่ท่านผู้มาเยือนโดยรวมตามลำดับ
๒. การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม ๗ มีส่วนร่วมในการจัดการและการบริหารการศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ พบว่า แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม ๗ มีส่วนร่วมในการจัดการและการบริหารการศึกษา ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ บุคลากรทางการศึกษาต้องยึดหลักอปริหานิยธรรม ๗ ตรวจตราหาเหตุผล ตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในงานนั้นๆ ที่สำคัญต้องรู้จักการวางแผนงาน วัดผลและคิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร และตัวบุคลากรรวมถึงชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคตจึงเป็นผลให้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
|