การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ๓) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้น ๔) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โดยมีประชากรทั้งสิ้นจำนวน ๑,๐๐๖ คนโดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๑๐ รูป/คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Research) รวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์ (In-depth Interviewform) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ในระดับน้อย
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า เพศของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นเหมือนกัน หรือไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .๐๕ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมทุกด้าน นั่นคือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป ซึ่งพบว่าผู้ปกครองนักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ที่ระดับนัยสำคัญที่ .๐๕ ผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล คือด้านการวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ค่า t-test ในภาพรวมทั้งหมด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่า t-test = -.๖๐๖, sig = .๕๔๕ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาพ รวมทุกข้อของแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบพิจารณาไม่แตกต่างกัน หรือเหมือนกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาพรวมทุกด้าน และทุกข้อไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .๐๕ มีข้อเสนอแนะ คือ ๑) องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการประชาสัมพันธ์ในแบบมวลชน (Mass Media) เพื่อสร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และองค์การบริหารส่วนตำบลก็ต้องประชาสัมพันธ์ในท้องถิ่นให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาตอนปลายชั้น ป.๔ – ป.๖ และผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นชั้น ป.๑ – ป.๓ ๒) มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย มาตรการ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนตำบลสามารถจัดการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการบริการต่างๆ ที่ครอบคลุม
|