การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในศึกษาสภาพปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่อยู่ใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ อำเภอเก้าเลี้ยวจำนวน 137 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยสุ่มแบบ ชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเก้าเลี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง( = 2.72) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าสภาพปัญหาในการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษา ในด้านการบริหารระบบสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.04) ส่วนในด้านการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลงานโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 2.21)
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อสภาพปัญหาในการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเก้าเลี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพบว่า การจำแนกตาม เพศ, กลุ่มอายุ, กลุ่มตำแหน่งหน้าที่ และกลุ่มประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาในการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเก้าเลี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ คือบุคลากรมีความต้องการให้มีการส่งเสริม สนับสนุนให้มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดเก็บข้อมูล ให้เพียงพอกับการใช้งาน และควรจัดบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบระบบสารสนเทศเข้ารับการอบรม และพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประสานงานร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ๆ
|