การวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครูครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๑) เพื่อศึกษาการการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครู ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครู ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครูซึ่งนักศึกษาจำนวน ๓๗๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.- Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาระดับการศึกษาชั้นปีที่ ๑,๒,๓ และ ๔ มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครูวิทยาลัยครูหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยภาพรวม ๖ ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ๖ ด้าน เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านวัดประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ด้านกระบวนการเรียนการสอนและด้านกิจกรรม ตามลำดับเปรียบเทียบสภาพความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครู วิทยาลัยครูหลวงพระบาง จำแนกตามเพศพบว่าด้านกิจกรรมแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และข้อที่นักเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านกิจกรรมซึ่งสอดคล้องสมมติฐานที่ตั้งไว้
การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขของนักศึกษาที่มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพครู วิทยาลัยครูหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยวิเคราะห์จากแบบสอบถามที่นักศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมมานั้น ด้านหลักสูตร ควรสร้างหลักสูตรใหม่ที่มีความทันสมัย ด้านครูผู้สอน ควรมีการส่งเสริมครูในโรงเรียนไปเรียน และอบรมตามสถานที่ต่างๆยังขาดการควบคลุมเรื่องการวัดประเมินผลของครูอาจารย์ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ควรมีอาจารย์สอนประจำทุกวิชาสอนเต็มเวลาที่กำหนดไว้ ในการเรียนการสอนควรเชิญวิทยากร,ผู้เชียวชาญในด้านสาขาวิชามาบรรยายให้ความความรู้เพิ่ม ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะกับความต้องการของนักศึกษา ควรมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนทันสมัย ด้านกิจกรรม ควรมีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่มากขึ้น ครูบางท่านควรใช้สื่อให้สอดคล้องกับบทเรียน กิจกรรมกลุ่มควรใช้เวลาพอเหมาะทำให้นักศึกษาไม่เกิดความเบื่อหน่าย ควรมีกระบวนการสร้างสื่อเพิ่มของครูอาจารย์ ควรสร้างกิจกรรมในห้อง และกิจกรรมมอบหมาย ด้านวัด และประเมินผล การวัดประเมินผลการเรียนของนักศึกษาควรไปตามกฎเกณฑ์ การวัดประเมินผลของครูควรว่องไว หน่วยวัด และประเมินผลของโรงเรียนควรว่องไว และอาจารย์ที่ให้คะแนนของนักศึกษาต้องไม่ผิดผาดในการคีย์ข้อมูล
|