การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารงานวิชาการของครู ๓. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน ๑๕๙ คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า F–test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการวิจัย พบว่า
๑. การบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนและด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญระดับ ๐.๐๕ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พบว่า การวิเคราะห์ ทำแผนในการจัดการเรียนการสอน และการ บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนยังต้องปรับปรุงและยังต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้ มีความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยบุคลากรผู้ชำนาญในการใช้สื่อการเรียนการสอนน้อยกับบางรายวิชาที่สอนอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและความรู้ความเข้าใจไม่พร้อมในเรื่องการวัดผลและประเมินผลตามสาระการเรียนรู้ขาดการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน
ข้อเสนอแนะ ในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ควรจัดหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ทำแผนในการจัดการเรียนการสอนและบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการผลิตสื่อและใช้สื่อการเรียนการเรียน จัดบรรยากาศห้องเรียนให้เหมาะสมกับบางรายวิชาที่สอนจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เพียงพอ จัดหาบุคลากรผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวัดและประเมินผลตามสาระการเรียนรู้ประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อตรวจสอบความพร้อมผู้เรียนและความก้าวหน้า
|