การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบทการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรด้านการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางต้นแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ โดยเลือกผู้อำนวยการ และครูผู้รับผิดชอบ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จำนวน ๕๘ โรงเรียน จำนวน ๑๑๖ คน ใช้ระเบียบวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีการใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๙๒ คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูล ที่ได้รวบรวมมา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test )และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) นอกจากนั้นยังได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อบริบทการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๒) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณายังพบอีกว่า ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต ด้านบรรยากาศและปฎิสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ พบว่า เพศ,อายุ,วุฒิการศึกษา,ตำแหน่ง และระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ก็พบว่าไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐาน และยังพบว่าแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานการวิจัย เฉพาะสถานภาพส่วนบุคคล ดังนี้ อายุ คือ ด้านการบริหารจัดการ ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑ และด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และวุฒิการศึกษา คือ ด้านบรรยากาศและปฎิสัมพันธ์ ก็พบว่า ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และตำแหน่ง คือ ด้านกายภาพ และด้านการบริหารจัดการ ก็พบว่า แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และด้านระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง คือ ด้านกายภาพ ก็พบว่า แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑ และด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
แนวทางต้นแบบการประยุกต์ใช้การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ พบว่าการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธนั้น บุคลากรเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งงานในหน้าที่ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยอาศัยกรอบการปฏิบัติงานตามหลักการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ เมื่อผ่านกรอบการปฏิบัติ เรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการบริหารซึ่ง หมายถึงการตรวจรูปแบบ วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และประโยชน์ของการดำเนินงาน หากผลที่ได้รับผ่านทุกหลักเกณฑ์และคุ้มค่าต่อการปฏิบัติ ก็จะนำผลงานที่ได้รับไปประยุกต์และพัฒนาให้ใช้งานได้จริง ให้เกิดผลจริง ตรงกันข้ามหากผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์งานแล้ว ผลที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการปฏิบัติ บุคลากรก็จะต้องนำ งานกลับมาปรับปรุง/แก้ไข เพื่อทบทวนหาข้อผิดพลาด โดยผ่านกรอบการดำเนินงาน ทำเช่นนี้จนกว่าผลลัพธ์นั้นจะออกมามีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานจริง อนึ่ง หากบุคลากรใช้ความละเอียดอ่อนในการปฏิบัติงาน อย่างมีสติ ผลงานที่ได้รับก็จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน และยั่งยืน ทั้งนี้ ความมีประสิทธิภาพที่เกิดแก่ตัวบุคลากรก็จะเป็นเสมือนตัวชี้วัดที่ส่งผลให้การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ
|