การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทอง เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทอง เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูและผู้บริหาร จำนวน ๑๖๒ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : F-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทอง ทั้ง ๓ ด้าน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ๔.๕๔ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการจัดการเรียนการสอน
๒. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของแบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทองทั้ง ๓ ด้านจำแนกตามตำแหน่ง เพศ วุฒิการศึกษา ขนาดโรงเรียน พบว่า ครูและผู้บริหารที่มีตำแหน่ง เพศ วุฒิการศึกษา ขนาดโรงเรียน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทอง ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอ่างทองทั้ง ๓ ด้าน คือ
๑) ด้านการบริหารจัดการ ปัญหา คือ ไม่มีการส่งเสริมให้มีการจัดกลุ่มสนใจ และหรือชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่มีแผนปฏิบัติการ / โครงการ/กิจกรรมดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสถาน ศึกษา ไม่สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโอกาสต่างๆ เช่นกิจกรรมปลูกต้นไม้ เก็บขยะ ข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้มีการจัดกลุ่มสนใจ และหรือชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโอกาสต่างๆ เช่นกิจกรรมปลูกต้นไม้ เก็บขยะ ส่งเสริมให้มีแผนปฏิบัติการ / โครงการ/กิจกรรมดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
๒) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ปัญหา คือ ปลูกไม้ร่มเงา ไม้ดอก ไม้ประดับ ร่มรื่น สวยงามน้อยไม่ส่งเสริมให้มีการจัดบรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ (มีแสงสว่างเพียงพออากาศถ่ายเท ไม่แออัด ฯลฯ) ไม่มีมาตรการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด ข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมให้ปลูกไม้ร่มเงา ไม้ดอก ไม้ประดับ ร่มรื่น สวยงามจัดบรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ (มีแสงสว่างเพียงพออากาศถ่ายเท ไม่แออัด ฯลฯ) ควรมีมาตรการและ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด
๓) ด้านการจัดการเรียนการสอน ปัญหา คือ ไม่ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์หลักสูตรในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา ไม่ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น ๆ ไม่สนับสนุนให้มีการผลิตและจัดทำ /จัดหาสื่อ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อใช้สอนนักเรียน ข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์หลักสูตรในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา ควรส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมโดยบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น ๆ ควรสนับสนุนให้มีการผลิตและจัดทำ /จัดหาสื่อ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อใช้สอนนักเรียน
|