งานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร ๔ ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒
งานวิจัยนี้ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ จำนวน ๒๓๑ คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (StandardDeviation) เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน ๑๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๗๙ มีกลุ่มอายุ ๔๐ – ๕๐ ปี จำนวน ๑๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๐๗ ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี จํานวน ๑๖๕ คน คิดเปนรอยละ ๗๑.๔๓ ตําแหนงหน้าที่รับผิดชอบ สวนมากเปนครูในโรงเรียนสอน จํานวน ๑๘๑ คน คิดเปนรอยละ ๗๘.๓๕ และประสบการณ์ในการสอน ๑๑ – ๑๕ ป จํานวน ๗๙ คน คิดเปนรอยละ ๓๔.๒๐ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๕) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ อยู่ในระดับมากทุกด้าน จำแนกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านเมตตา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๘) ด้านกรุณา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๔) ด้านมุทิตา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๓) และด้านอุเบกขา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๗)
๒) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้ว พบว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา และบุคลากรครูในสถานศึกษา ที่มีประสบการณ์ในการสอน ตําแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและบุคลากรครูในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕ สําหรับในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
๓) ข้อเสนอแนะรูปแบบที่บุคลากรครูในสถานศึกษาต้องการให้ผู้บริหารมีพฤติกรรม ด้านเมตตา คือ ๑. มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ๒.ผู้บริหารสร้างความพึงพอใจแก่บุคลากรและผู้รับบริการทางการศึกษา ด้านกรุณา คือ ๑. มีความกล้าตัดสินใจในการปรับปรุงการบริหารงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สภาพที่พึงปรารถนาในอนาคตร่วมกัน ๒. มีการวางแผนการบริหารงานในอนาคตได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ด้านมุทิตา คือ ๑. ผู้บริหารมีความเอาใจใส่เกี่ยวกับปัญหาและมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ๒. บริหารงานบุคลากรให้ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติงานอย่างเท่าเทียมกัน ด้านอุเบกขา คือ ๑. มีการบริหารการวางแผนด้วยความเที่ยงธรรมปราศจากอคติ ๒. มีความเสมอภาคในการบริหารงานในสถานศึกษา
|