การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกำหนดรูปแบบในการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนทั่วไป เจ้าพนักงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ ผู้เกี่ยวข้องที่อยู่เฉพาะเขตภายในพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๓๘๐ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๙,๘๐๐ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Simple Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๑ คน โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านจิตใจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้
ต่อเดือน และตำแหน่งในชุมชน ต่างกัน มีผลต่อการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และตำแหน่งในชุมชน ต่างกัน มีผล ต่อการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แตกต่างกัน ส่วนประชาชน ที่มีเพศ สถานภาพ การส่งเสริมของหน่วยงานเทศบาล/อบต. การส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ และ การดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ต่างกัน มีผลต่อการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ว่า ประชาชนที่มีเพศ สถานภาพ การส่งเสริมของหน่วยงานเทศบาล/อบต. การส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ต่างกัน มีผลต่อการพึ่งตนเอง ของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แตกต่างกัน
๓. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการพึ่งตนเองของชุมชนในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ประชาชนควรเป็นทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในครอบครัวและในท้องถิ่น ควรมีการวางแผนรายรับ-รายจ่ายไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา ควรนำ ต้น/ไม้ไผ่ ต้น/ใบกล้วย ใบเตย ต้นกก หรือวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ อย่างประหยัด ไม่ควรมีความรู้สึกอยากได้อยากมีจนเกินฐานะและความสามารถของตนเอง และควรมีความห่วงใย เอื้ออาทร คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในยามทุกข์และสุข
|