การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ๒. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าพนักงานของรัฐ/เจ้าหน้าที่ขององค์กร และผู้เกี่ยวข้องที่อยู่เฉพาะเขตภายในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน ๑๓๐ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๖๓๗ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Simple Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการวางแผนพัฒนาตำบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการให้บริหารงบประมาณ ด้านการมี
ส่วนร่วม ด้านการบริหารสาธารณะ และด้านการให้บริการงานองค์การบริหารส่วนตำบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับรองลงมา ตามลำดับ
๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน คือ คณะผู้บริหารที่มีอายุ วุฒิการศึกษา และตำแหน่ง ต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ว่า คณะผู้บริหารที่มีอายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี แตกต่างกัน ส่วนคณะผู้บริหารที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐาน
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขในการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี คือ คณะผู้บริหารและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ เป็นเป้าหมายของ องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลด้วย ควรมีการพิจารณาวางแผนเกี่ยวกับโครงการในการพัฒนาของหมู่บ้านให้ชัดเจน
|