การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลภาคสนามและแบบสอบถามการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยวิเคราะห์ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับระดับการมีส่วนร่วม ใช้สถิติ คือ ค่าที (t - Test) สำหรับทดสอบกับตัวแปรที่มี ๒ ค่า และทดสอบค่าเอฟ (F - Test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า ๒ ค่า เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) โดยทดสอบภายใต้ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ข้อมูลจากการบันทึกภาคสนามใช้การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis technique)
ผลการวิจัย
๑. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๑๓ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
๒. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวม พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และสถานภาพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยจำแนกตามอาชีพ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ด้านการปฏิบัติการ และด้านการรับผลประโยชน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นการยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนน้อย อยู่ในช่วงสูงวัย ขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน และขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ขาดเงินสนับสนุนจากการองค์การส่วนปกครองท้องถิ่น ดังนั้นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมหรือโครงการและรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยผ่านการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายช่องทาง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลคลองจินดา ต่อไป
|