การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เข้ามาทำบุญในวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร จำนวน ๕๒๙ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๑,๔๕๖ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Simple Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. บทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณีกรุงเทพมหานคร ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาจิตใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ด้านการเมือง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านการพัฒนาสังคม อยู่ในระดับมาก
๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาวัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร พบว่า พระสงฆ์บางรูปยังวางตัวไม่เป็นกลางต่อการพัฒนาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการฝึกอบรมพระสงฆ์เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมพระสงฆ์บางรูปยังขาดความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านเศรษฐกิจ และวัดขาดการจัดโครงการพัฒนาจิตใจประชาชนแบบต่อเนื่อง วัดยังขาดสถานที่ ที่ถ่ายทอดด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการฝึกอบรมพระสงฆ์เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมควรส่งเสริมแหล่งพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มากกว่านี้
|