การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรประชากรคือพระสงฆ์จำนวน ๒๑๘ รูป ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับพระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอนุรักษ์การแข่งเรือยาว ในจังหวัดพิจิตร จำนวน ๒๑๘ รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคลหรือตัวแปรต้น การทดสอบค่าที (t-test) และ การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference/LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการวิจัยพบว่า
๑) จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๒๑๘ รูป พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุ ๕๑ ปีขึ้นไปร้อยละ ๔๑.๒๘ มีอายุพรรษา ต่ำกว่า ๑๑ ปี ถามร้อยละ ๔๘.๖๒ เป็นพระลูกวัด ร้อยละ ๘๙.๙๑ มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ ๗๘.๔๔ มีวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (แผนกนักธรรม) นักธรรมชั้นเอก ร้อยละ ๒๘.๙๐ มีวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (แผนกบาลี) ประโยค ๑-๒ และ ป.ธ.๓ ร้อยละ ๓๘.๙๙ มีระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัด ๖ – ๑๐ ปี ร้อยละ ๓๖.๗๐
๒) บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ๒๑๘ รูป พบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาหลายด้านพบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านร่วมปฏิบัติงาน และด้านร่วมติดตาม ประเมินผล และบำรุงรักษา และพบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร อยู่ในระดับมาก คือ ด้านร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหา และ ด้านร่วมหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหา
๓) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จำแนกตามอายุ จำนวนพรรษา ตำแหน่งทางสงฆ์ วุฒิการศึกษา (สามัญศึกษา) วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (แผนกนักธรรม) วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (แผนกบาลี) และระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัด พบว่า พระสงฆ์ที่มีระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัดต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนพระสงฆ์ที่มี อายุ จำนวนพรรษา ตำแหน่งทางสงฆ์ วุฒิการศึกษา (สามัญศึกษา) วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (แผนกนักธรรม) และวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (แผนกบาลี) โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
๔) ข้อเสนอแนะ พระสงฆ์ควรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ให้มากกว่านี้โดยการเป็นผู้นำในการบำรุงรักษา และพัฒนาการแข่งเรือในรูปแบบใหม่ ๆ ผสมผสานกับการแข่งเรือแบบเก่า ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ยืนยาว
|