การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา: สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี
๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่เข้ามารับการรักษา ณ สถาบันธัญญารักษ์ จำนวน ๓๖๗ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคลหรือตัวแปรต้น การทดสอบค่าที (t-test) และ การทอสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ใช้ทอสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference (LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการวิจัยพบว่า
๑) จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๓๖๗ คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๗๙.๕๖ มีอายุอยู่ในช่วง ๒๑ – ๕๐ ปี ร้อยละ ๖๒.๖๗ มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ ๙๒.๙๒
๒) จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ๓๖๗ คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมากที่สุด ๒ ด้าน คือ ด้านสมาธิ และด้านปัญญา ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมากคือด้านศีล
๓) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศและอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้ตอบแบบสอบถามต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้ตอบแบบสอบถามต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา : สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
๔) ข้อเสนอแนะ สถาบันธัญญารักษ์ ควรปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณในการจัดโครงการ/กิจกรรมด้านศาสนา ควรมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และควรเพิ่มทักษะการปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ
|