การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้ดำเนินการทำการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ประชาชนในชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยจำนวน ๓๑๗ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Lead Significant Difference : LSD) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๖) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละข้อพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมากทุกข้อ
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ วุฒิการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่าประชาชนที่มีเพศที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และประชาชนที่มีอายุ อาชีพ วุฒิการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ไม่แตกต่างกัน
๓. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พบว่า ๑) องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการมีสุ่มตัวอย่างสอบถามความต้องการของประชาชนเพื่อนำไปประกอบในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ๒) ควรให้มีการเลือกประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ๓) องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ได้จัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีให้กับประชาชนในชุมชนเพิ่มมากขึ้นและก็ให้มีการประสานงานที่ชัดเจน และ ๕) องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ควรให้ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใสของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง ๕ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ให้ต่อเนื่อง เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
|