หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพฤหัส ปญฺญาทีโป (สุดที่รัก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
บทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัด สมุทรปราการ(การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระพฤหัส ปญฺญาทีโป (สุดที่รัก) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีความประสงค์ ๓ ประการคือ  ๑)เพื่อศึกษาบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ  ๒)เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ  และ ๓)เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ 

ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพระสงฆ์ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๕๔ รูป ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ส่วนการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique) ประกอบบริบท และประมวลผลเข้าด้วยกัน
ผลการวิจัย พบว่า  
๑. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับมากที่สุด ที่เหลืออยู่ในระดับมาก 
๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีตำแหน่งภายในวัดอายุ จำนวนพรรษา ระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัด วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม(แผนกนักธรรม) ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม(แผนกนักธรรม)แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคม โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๑
๓. ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับบทบาทของพระสังฆาธิการต่อการพัฒนาสังคม พบว่า ๑) ด้านการพัฒนาการเมือง บางบทบาทในการพัฒนาของพระสงฆ์ยังไม่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ  ควรสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับสังคม และวางตัวเป็นแบบอย่างให้ชัดเจน ๒) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ บางวัดยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจ ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากร หรือพระสงฆ์ที่มีบทบาททางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้นกว่านี้ ๓) ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม บางวัดบริเวณภายในวัดยังขาดการดูแล และสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรมีการรณรงค์ทุกวัดให้เกิดการสร้างสิ่งแวดล้อม และที่ร่มรื่นภายในวัด เพื่อความสุขกาย สบายใจในขณะที่เข้ามายังบริเวณวัด ๔) ด้านการพัฒนาจิตใจ ควรมีการติดตามผลงานและประเมินผลของการพัฒนาจิตใจ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาชุมชนในที่อื่น ๆ ต่อไป
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕