งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในเขตพื้นที่วัดอโศการาม ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในการพัฒนาพื้นที่วัดอโศการามตามแนว CSR (Corporate Social Responsibility) และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่บริเวณรอบวัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ องค์กรธุรกิจ และพระสงฆ์ที่สังกัดวัดอโศการาม ซึ่งได้แก่ เจ้าอาวาส พระลูกวัดรวม ๒๐๔ รูป รวมถึงประชาชนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในการดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในการดูแลรักษาป่าชายเลนในโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมวัดอโศการาม จำนวน ๑,๐๐๐ คน รวม ๑,๒๐๔ รูป/คน โดยวิธีการเปิดตารางสุ่มตัวอย่างตารางสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ปรากฏได้กลุ่มตัวอย่างตัวอย่าง ๓๐๐ รูป/คน และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนาน ๕ รูป/คน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาป่าชายเลนให้เป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อม
วัดอโศการาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ : กรณีศึกษา วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ๓.๗๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ คือด้านการวางแผน ๓.๘๖ ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ๓.๘๖ ด้านการมีส่วนร่วม ๓.๗๑ ด้านการดำเนินการ ๓.๗๐ ด้านกลยุทธ์เพื่อวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย ๓.๖๖
๒) ผลวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ : กรณีศึกษา
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สรุปได้ว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ : กรณีศึกษา วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ด้านระดับการศึกษา และด้านจำนวนความถี่ในการเข้าร่วมโครงการ แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้าน เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ตำแหน่งงาน การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาป่าชายเลน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓) ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ : กรณีศึกษา วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ๑. ด้านการวางแผน การวางแผนการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ๒. ด้านกลยุทธ์เพื่อวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย กลยุทธ์ในการทำตามแผนที่วางเอาไว้ขององค์กรธุรกิจขาดเป้าหมายและไม่ชัดเจน ๓. ด้านการมีส่วนร่วม ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นได้ไม่มากเท่าที่ควร ๔. ด้านการดำเนินการ ลำดับขั้นตอนในการดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าชายเลนไม่มีความชัดเจน ๕. ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ต้นกล้าบางชนิดไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
|