หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเกรียงไกร ฐานวุฑฺโฒ (สุวรรณคำ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การศึกษาหลักธรรมสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระเกรียงไกร ฐานวุฑฺโฒ (สุวรรณคำ) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  ดร.ทรงวิทย์ แก้วศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาหลักธรรมสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหน้าที่และข้อปฏิบัติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามหลักกฎหมายแรงงานไทย ๒) เพื่อศึกษาหน้าที่และข้อปฏิบัติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามหลักพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อเสนอหลักธรรมสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง 

วิธีดำเนินการวิจัย สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร (Documentary investigation) โดยมีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑. สำรวจและรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ชั้นปฐมภูมิโดยศึกษาจากตำราทางด้านกฎหมายคุ้มครองแรงงานไทย คำพิพากษาศาลฎีกา ตำราและหนังสือของนักวิชาการทางด้านกฎหมายคุ้มครองแรงงานไทย และงานวิจัยที่เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานไทย สื่อออนไลน์ 

๒. สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ชั้นทุติยภูมิ โดยศึกษาจาก คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา ตำราและหนังสือของนักวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา และงานวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนา สื่อออนไลน์ ๓. วิเคราะห์หลักธรรมจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา หลักธรรมที่เกี่ยวกับนายจ้างและลูกจ้าง รวบรวม เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอผลงานวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า หลักธรรมที่เหมาะสมแก่การนำไปปรับประยุกต์ใช้กับนายจ้างและลูกจ้างในสังคมไทยมีอยู่ทั้งหมด ๑๔ หลักธรรม เป็นหลักธรรมที่เหมาะสมสำหรับนายจ้าง ๙ หลักธรรมและเป็นหลักธรรมที่เหมาะสมสำหรับลูกจ้าง ๕ หลักธรรมด้วยกัน หลักธรรมที่เหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้กับนายจ้างในสังคมไทย ได้แก่ หิริ โอตตัปปะ บุพการี กตัญญูกตเวที สติ สัมปชัญญะ พรหมวิหาร ๔ อคติ ๔ บารมี ๖ สังคหวัตถุ ๔  สัปปุริสธรรม ๗ ยุติธรรม ๕ และหลักธรรมที่เหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้กับลูกจ้างในสังคมไทย ได้แก่ หิริ โอตตัปปะ บุพการี กตัญญูกตเวที ขันติ โสรัจจะ สติ สัมปชัญญะ และสุจริต ๓ เป็นต้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕