หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมัย สุทฺธิโก (แถมบุญ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๕ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ(การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมัย สุทฺธิโก (แถมบุญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ๒) การเปรียบเทียบระดับการมี

ส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตามคุณลักษณะส่วนบุคคลและระดับความรู้ในการพัฒนาชุมชนของประชาชน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกำหนดรูปแบบในการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอขุนหาญ จังหวัด

ศรีสะเกษ โดยเลือกประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ซึ่งอยู่ในชุมชน จำนวน ๙ หมู่บ้าน ภายในเขตพื้นที่ ๓ ตำบล คือ ตำบลโพธิ์วงศ์ ตำบลไพร และตำบลภูฝ้าย โดยเลือกตำบลละ ๓ หมู่บ้าน คือ ตำบลโพธิ์วงศ์ ได้แก่ หมู่ที่ ๑, ๓, และหมู่ที่ ๕ ตำบลไพร ได้แก่ หมู่ที่ ๑, ๒ และหมู่ที่ ๘ และตำบลภูฝ้าย ได้แก่ หมู่ที่ ๔, ๕ และหมู่ที่ ๗ จำนวน ๓๖๐ คน จากจำนวนประชากร ๖,๒๒๑ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Simple Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ คน โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านการตัดสินใจ ปัจจัยด้านการวางแผน และปัจจัยด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ 

๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน จำแนกปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน จำแนกตามเพศ และวุฒิการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อจำแนกตามอายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผู้บริหารส่วนตำบลควรเสนอปัญหาความต้องการของประชาชน และมีการแก้ไข้ปัญหาที่ประชาชนต้องการ และผู้บริหารทุกระดับขององค์การบริหารส่วนตำบลควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นแบบอย่างในพัฒนาต่อไป หรือองค์การบริหารส่วนตำบลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีการประเมินผลเมื่อเสร็จโครงการ

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕