เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง |
ทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ของนักเรียน : โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
สราง จันทร์จับเมฆ |
ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๐/๒๐๑๔ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) |
|
พลโท ดร.วีระ วงศ์สรรค์ |
|
พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
2556 |
|
บทคัดย่อ |
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ของนักเรียน : โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ (วัดบางแพรกเหนือ) ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ของนักเรียน ๒) เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในระดับทัศนคติและความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ด้านต่าง ๆ ของนักเรียน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา การอยู่อาศัยในครอบครัวปัจจุบันและอาชีพของผู้ปกครอง ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของนักเรียนต่อการไหว้พระสวดมนต์ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยวิจัยจากกลุ่มประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ (วัดบางแพรกเหนือ) จังหวัดนนทบุรี จำนวนนักเรียน ๓๒๕ คน เมื่อคำนวณตามสูตรแล้ว ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๑๘๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ตัวแปรทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD จากการวิจัยพบว่า ๑.ระดับทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ โดยรวม อยู่ในระดับดีมาก ( =๓.๘๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนโรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ (วัดบางแพรกเหนือ) จังหวัดนนทบุรี มีระดับทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ อยู่ในระดับดีมาก ทุกด้านได้แก่ ๑. แรงจูงใจในการไหว้พระสวดมนต์ ๒. ประโยชน์ทางด้านกายภาพ ๓. ประโยชน์ทางด้านสังคม ๔. ประโยชน์ทางด้านจิตใจ ๕. ประโยชน์ทางด้านรู้คิด/ปัญญา ๒. นักเรียนที่มีเพศต่างกัน มีระดับทัศนคติไม่แตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน และจากการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยนักเรียนที่มีอายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน การอยู่อาศัยในครอบครัวในปัจจุบันที่ต่างกัน และอาชีพผู้ปกครองต่างกัน โดยภาพรวมพบว่ามีทัศนคติต่อการไหว้พระสวดมนต์แตกต่างกัน ๓ ด้านคือ ๑. ประโยชน์ทางด้านสังคม ๒. ประโยชน์ทางด้านกายภาพ ๓. ประโยชน์ทางด้านรู้คิด / ปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๓. ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ของนักเรียนเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องการไหว้พระ สวดมนต์ในพระพุทธศาสนาว่าเมื่อปฏิบัติแล้วทำให้จิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง เกิดปัญญา และมีการปฏิบัติตนในการไหว้พระสวดมนต์ในชีวิตประจำวันโดยการไหว้พระก่อนนอนนั่งสมาธิ
|
|
|