เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง |
รูปแบบและหลักการของการปกครองในพระไตรปิฎก |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นายนครินทร์ แก้วโชติรุ่ง |
ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ป.ธ.๙, พธ.บ. (ปรัชญา) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง,ศษ.บ. (บริหารการศึกษา) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง, M.A. (Philosophy) เหรียญทอง, อ.ด. (ปรัชญา) |
|
. |
|
. |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๖ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบและหลักการของการปกครองในพระไตรปิฎก” มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของการปกครองในพระไตรปิฎก และเพื่อวิเคราะห์หลักการของการปกครองในพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า ๑) รูปแบบของการปกครองทางการเมืองมี ๒ รูปแบบ ได้แก่ การปกครองแบบราชาธิปไตย ซึ่งผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียวในการปกครองรูปแบบนี้คือพระราชา และการปกครองแบบสามัคคีธรรม ซึ่งอำนาจอยู่ในมือของชนชั้นสูงและมีลักษณะใกล้เคียงกับรูปแบบการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยในปรัชญากรีก ส่วนรูปแบบการปกครองในพระพุทธศาสนานั้นมีพัฒนาการโดยเริ่มต้นจากพระพุทธเจ้าทรงปกครองคณะสงฆ์ในฐานะธรรมราชา จนกระทั่งพระพุทธองค์ได้ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครอง จึงเป็นรูปแบบการปกครองเฉพาะตน ๒) หลักการของการปกครองแบบราชาธิปไตย ได้แก่ หลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้จำนวนมากเพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองแบบราชาธิปไตยมีอำนาจสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว และหลักการของการปกครองแบบสามัคคีธรรมมีหลักการปกครองที่สำคัญคืออปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมเพื่อสร้างความสามัคคี และหลักธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง ส่วนหลักการของการปกครองของคณะสงฆ์นั้นมีพระธรรมวินัยเป็นหลักการปกครองสำคัญ ซึ่งคณะสงฆ์จะต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดีภายใต้กรอบแห่งพระธรรมวินัย
ดาวน์โหลด |
|
|