หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสราวุฒย์ ปญฺญาวุฑฺโฒ (วิจิตรปัญญา)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การปฏิรูประบบวรรณะสู่ระบบสังฆะในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระสราวุฒย์ ปญฺญาวุฑฺโฒ (วิจิตรปัญญา) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ พ.ม., ป.ธ. ๗, พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Bud.), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      สารนิพนธ์เรื่อง การปฎิรูประบบวรรณะสู่ระบบสังฆะในพระพุทธศาสนา  ซึ่งเป็นการศึกษาจากตำราทางพระพุทธศาสนา  เอกสาร  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาระบบวรรณะกับผลกระทบสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล  และเพื่อศึกษาการปฎิรูประบบวรรณะสู่ระบบสังฆะในพระพุทธศาสนา

                      ผลการศึกษาพบว่า  ระบบวรรณะในสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาลเป็นการกีดกันของชนกลุ่มที่มีอำนาจ โดยกำหนดเป็นวรรณะทั้งสี่  และแบ่งหน้าที่ของแต่ละวรรณะอย่างชัดเจน ตั้งแต่กำเนิดจนตลอดชีวิต จากระบบวรรณะนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และบางวรรณะก็ถูกกดขี่จากวรรณะอื่น  ซึ่งทำให้ถูกจำกัดสิทธิ  เสรีภาพ เกิดความขัดแย้งในสังคม  สังคมไร้ความยุติธรรม  จึงส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม ความเชื่อ ของคนสมัยนั้นเป็นอย่างมาก

                      ส่วนการปฏิรูประบบวรรณะสู่ระบบสังฆะ พระพุทธเจ้าทรงเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพสามารถพัฒนาได้  พระองค์จึงทรงปฎิรูปโครงสร้างทางสังคมใหม่  โดยมีการปฎิรูปกลุ่มคนจากบนสู่ล่าง คือ จากระบบวรรณะสูงสู่ระบบวรรณะต่ำ  เมื่อมาสู่ระบบสังฆะแล้วจะมีความเท่ากัน คือมีพระธรรมวินัยเดียวกัน จึงเป็นการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคม  มีการตั้งกลุ่มสังฆะ โดยรวบรวมบุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์  ที่เรียกว่า  บริษัทสี่  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสถ  อุบาสิกา  โดยอาศัยธรรมวินัยในการดำรงอยู่ร่วมกัน  และมีจุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพ้นตามหลักพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕