บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางในเขตพื้นที่ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางในเขตพื้นที่ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในเขตพื้นที่ ๑๒ หมู่บ้าน ขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓๖๑ คน ซึ่งใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบ (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard devition) ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD)
ผลการศึกษา พบว่า
๑ ประชาชนแนวคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์บริหารส่วนตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๐๗)
๒ ผลการเปรียบเทียบแนวคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ประชาชน ที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และอาชีพต่างกัน มีแนวคิดโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ซึ่งในส่วนของประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีแนวคิดต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๔๒ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย (Sig= ๐.๘๑๔)
๓ แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นการพัฒนาการบริหารงานสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า โดยเฉพาะบุคลากรฝ่ายบริหารที่ต้องเป็นผู้นำที่มีความรอบรู้ทั้งทางด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดหลักความถูกต้องเป็นที่ตั้งเป็นธรรมกับประชาชนทุกหมู่บ้าน และมีความเสมอภาคต่อโครงการพัฒนา ด้วนการเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่สำคัญ และมีส่วนร่วมทุกมิติครอบคลุมขอบเขตชัดเจน ต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งระบบ ตามหลักธรรมาภิบาล จนนำภาคองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแบบยั่งยืน
ดาวน์โหลด |