หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหามานะ พุทฺธวิริโย (นามนนท์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๐ ครั้ง
ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้วิจัย : พระมหามานะ พุทฺธวิริโย (นามนนท์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม., รป.ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช, พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามทัศนะประชาชน (๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของประชาชนต่อภาวะผู้นำขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล(๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนจำนวน ๓๙๔ คน ภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ๔ แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ระดับภาวะผู้นำของภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอ  หนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ๒.๒๙ ( = ๒.๒๙,  S.D. = ๐.๕๗ ) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอยู่ในระดับน้อยทุกด้านตามลำดับ คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการบริหาร และด้านมนุษยสัมพันธ์

๒. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนแตกต่างกันตามอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

๓. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับภาวะผู้นำของภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ (๑) นายกฯ ขาดวิสัยทัศน์ และไม่เข้าใจปัญหาตลอดถึงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง (๒) นายกฯไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นในแผนพัฒนาประจำปีหรือในการพิจารณางบประมาณพัฒนาพื้นที่  (๓) นายกฯมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน แต่ไม่ทำตามวิสัยทัศน์ (๔) นายกฯขาดความรู้ความสามารถและขาดประสบการณ์ในการบริหาร ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการทำงานทำให้ไม่ถูกต้องในบางเรื่อง (๕) การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชนของนายกฯยังน้อยไป ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าห่างเหินต่อกัน  (๖) นายกฯไม่มีจิตสาธารณะ ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน

ข้อเสนอแนะ คือ ด้านวิสัยทัศน์ ๑) นายกฯควรศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชนให้เข้าใจเพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ) ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน รับฟังความคิดเห็นของประชาชน  ) ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่ผู้บริหาร ) ประชาชนอยากให้นายกฯมีความกระตือรือร้นในการทำงานมากกว่านี้ เอาจริงเอาจังกับการทำงาน และทำงานเพื่อประชาชนจริงๆ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ๑) ประชาชนอยากให้นายกฯเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนมากกว่านี้ มีการพบปะกับชาวบ้านมากกว่านี้  ๒) ประชาชนอยากให้นายกฯมีจิตสาธารณะ  มีการสนทนาปราศรัยกับประชาชน และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕