บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบริหารงานสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรและผู้รับบริการต่อประสิทธิผลในการบริหารงานสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี (๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาประสิทธิผลในการบริหารงานสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในสำนักงานที่ดินและผู้มารับบริการในสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จำนวน ๔๕๐ ฉบับ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ การค่าเฉลี่ย ( )ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)เพื่อบรรยายสถานภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง การทดสอบค่าที (T-test) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม การทดสอบค่าเอฟ (T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One – Way ANOVA )ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ วิเคราะห์ข้อมูลคำถามปลายเปิดโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
ประสิทธิผลในการบริหารงานสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมของบุคลากรในสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรีอยู่ในระดับมาก ลักษณะสถานภาพและข้อมูลทั่วไปพบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด มีอายุระหว่าง ๓๑ – ๔๐ ปี จบการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ชำนาญงานเป็นจำนวนมาก และมีรายได้ต่อเดือนที่ ๑๐,๐๐๑-๑๕,๐๐๐ บาท เมื่อพิจารณาเป็นรายพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากตามลำดับ คือ ด้านการวางแผนงาน มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๐ ด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๔ ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านสถานที่ให้บริการ ๔.๐๕ และด้านกระบวนการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย ๔.๐๔ ส่วนในภาพรวมของผู้มารับบริการในสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ลักษณะสถานภาพและข้อมูลทั่วไปพบว่า เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง ๒๐ – ๓๐ ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเกษตรกร/ องค์กรเกษตรกร ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อพิจารณาเป็นรายพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากตามลำดับ คือ ด้านสถานที่ให้บริการ มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๔ ด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๐ ด้านกระบวนการให้บริการ ๔.๐๖ และด้านการวางแผนงาน มีค่าเฉลี่ย ๔.๐๑ และ จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างบุคลากรกับผู้มารับบริการในสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรีต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน นำไปสู่การตอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า คิดเห็นระหว่างบุคลากรกับผู้มารับบริการที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วน คิดเห็นระหว่างบุคลากรกับผู้มารับบริการที่มีอายุ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐาน ด้านปัญหาและอุปสรรคในระดับปานกลาง สามารถอธิบายได้ว่า คณะผู้บริหารของสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่เห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานทั้ง ๔ ด้าน อยู่ในระดับไม่รุนแรงมากนัก ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่ารูปแบบของการบริหารงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ได้มีการดำเนินงานตามนโยบายของกรมที่ดินอย่างเคร่งครัด และตอบสนองความต้องการของผู้มารับบริการในสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรีได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานทั้ง ๔ ด้านอยู่ในระดับปานกลาง และยังเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้ เมื่อคณะผู้บริหารในสำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรีได้มีการนำนโยบายมาใช้และได้มีการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสำนักงานที่ดินต่อไป
ดาวน์โหลด |